สาขาวิชาการออกแบบเครื่องประดับ

ปรัชญา

ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ทางศิลปะ สุนทรียศาสตร์ ความคิดสร้างสรรค์ มีจรรยาบรรณในวิชาชีพการออกแบบ เครื่องประดับ

ความสำคัญ

ภาควิชาออกแบบเครื่องประดับ จึงมีแผนดำเนินการเปิดสอนหลักสูตรศิลปบัณฑิตในสาขาวิชาการออกแบบเครื่องประดับ
เพื่อมุ่งผลิตผู้นำด้านการออกแบบและสร้างสรรค์ในวิชาชีพเครื่องประดับที่มีบทบาทต่อการขับเคลื่อน ระบบอุตสาหกรรมการผลิต
เครื่องประดับให้สอดคล้องต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบธุรกิจ โดยอยู่บนพื้นฐานของ ความรับผิดชอบต่อสังคมและทรัพยากรธรรมชาติ
มีความสามารถในการออกแบบ เพื่อขับเคลื่อนภาคการผลิตสินค้า และบริการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางของการอนุรักษ์และ
ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ เป็นนักออกแบบที่ดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรีและเป็นสุข

วัตถุประสงค์

  • เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ในวิชาชีพเครื่องประดับ และมีความรับผิดชอบต่อสังคม
  • เพื่อสร้างและพัฒนาความรู้ ความสามารถเฉพาะบุคคลทางวิชาชีพด้านเครื่องประดับ

ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร

  • PLO1 อธิบายความหมายและคุณค่าของศิลปะและการสร้างสรรค์ได้
  • PLO2 อภิปรายความหมายของความหลากหลายทางวัฒนธรรมได้
  • PLO3 ระบุความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจและทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการเป็นผู้ประกอบการได้
  • PLO4 มีทักษะการใช้ภาษา และสื่อสารได้ตรงตามวัตถุประสงค์ในบริบทการสื่อสารที่หลากหลาย
  • PLO5 เลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ตรงตามวัตถุประสงค์ ตลอดจนรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ
  • PLO6 แสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง และนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาตนเองและการดำเนินชีวิต
  • PLO7 แสดงออกซึ่งทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ มีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลาซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
  • PLO8 ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างผลงานหรือดำเนินโครงการได้
  • PLO9 คิดวิเคราะห์ วางแผน อย่างเป็นระบบ เพื่อแก้ไขปัญหาหรือเพื่อออกแบบนวัตกรรมได้
  • PLO10 บอกเนื้อหา ทฤษฎี หลักการ มาตรฐานหรือธรรมเนียมปฏิบัติด้านศิลปะและการออกแบบและศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องได้
  • PLO11 อธิบายทฤษฎี หลักการ เทคนิควิธีในการสร้างผลงานศิลปะและการออกแบบ
  • PLO12 ปฏิบัติงานศิลปะและงานออกแบบตามทฤษฎี หลักการ และหลักปฏิบัติได้
  • PLO13 ประยุกต์ใช้ทฤษฎี หลักการ หลักปฏิบัติด้านศิลปะและการออกแบบ และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องในการสร้างสรรค์ผลงานได้
  • PLO14 ใช้เครื่องมือ อุปกรณ์หรือเทคโนโลยีในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะและออกแบบได้ด้วยตนเอง
  • PLO15 อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างงานศิลปะและการออกแบบกับบริบททางสังคม ภูมิปัญญา และวัฒนธรรม
  • PLO16 ออกแบบเครื่องประดับและวางแผนการผลิตผลงานได้อย่างมีระบบ
  • PLO17 แสดงความคิดเห็นอย่างมีประสิทธิภาพมีทักษะการนำเสนอผลงานและสื่อสารข้อมูลอย่างถูกต้องเหมาะสมแบบมืออาชีพ
  • PLO18 สร้างประโยชน์ทั้งต่อตนเองและสังคมด้วยความเป็นนักออกแบบที่มีความรู้ความสามารถ มีคุณธรรมจริยธรรม
  • PLO19 สามารถนำเสนอเพื่อสื่อสารต่อสาธารณชน มีทักษะในการเขียนตามระเบียบการวิจัย
  • PLO20 ใช้ทักษะการวิเคราะห์เชิงวิพากษ์กับสถานการณ์จริงภายในบริบทที่กำหนด
  • PLO21 วิเคราะห์ สังเคราะห์ ทดลอง เพื่อแก้ปัญหาในงานออกแบบ
  • PLO22 สามารถทำงานเป็นทีม มีความเป็นมืออาชีพ มีทักษะความเป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ จัดการเวลาและงานที่มีคุณภาพ
  • PLO23 สร้างสรรค์ผลงานศิลปะและการออกแบบเครื่องประดับที่แสดงออกถึงอัตลักษณ์เฉพาะตนได้

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  • นักออกแบบเครื่องประดับ และนักออกแบบโลหะภัณฑ์
  • ประกอบวิชาชีพอิสระในธุรกิจด้านเครื่องประดับ และโลหะภัณฑ์
  • ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเครื่องประดับ และโลหะภัณฑ์ ทั้งด้านระบบการผลิต เครื่องมือ และวัสดุที่ช่วย พัฒนารูปแบบสินค้าเครื่องประดับ และโลหะภัณฑ์ของประเทศไทย
  • ผู้สอนและนักวิชาการด้านการออกแบบเครื่องประดับ

รหัสและชื่อหลักสูตร
รหัสหลักสูตร              2540 00811 01072
ชื่อหลักสูตร
–  ภาษาไทย              หลักสูตรศิลปบัณฑิต  สาขาวิชาการออกแบบเครื่องประดับ
–  ภาษาอังกฤษ          Bachelor of Fine Arts Program in Jewelry Design

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
–  ชื่อเต็มภาษาไทย            ศิลปบัณฑิต  (การออกแบบเครื่องประดับ)
–  ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ        Bachelor of Fine Arts (Jewelry Design)
–  ชื่อย่อภาษาไทย             ศล.บ. (การออกแบบเครื่องประดับ)
–  ชื่อย่อภาษาอังกฤษ         B.F.A. (Jewelry Design)

รายละเอียดของหลักสูตรหลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบเครื่องประดับ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)

Download (PDF, 244KB)

รายละเอียดของหลักสูตรหลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบเครื่องประดับ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560)

Download (PDF, 194KB)

เกณฑ์การคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษา

  • ความสามารถทางศิลปะพื้นฐาน
  • ความคิดสร้างสรรค์
  • ทักษะด้านการออกแบบ แนวคิดในการเลือกใช้สีและวัสดุเพื่อการสร้างสรรค์งานออกแบบเครื่องประดับ
© สงวนลิขสิทธิ์ 2558, คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร