ประวัติ / ปรัชญา / วิสัยทัศน์

เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2499

คณะมัณฑนศิลป์ ได้ถือกำเนิดขึ้น ด้วยดำริของ ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี และ ดำเนินการเปิดสอนในสาขาวิชาศิลปตกแต่ง (Decorative Arts) ในปีการศึกษานั้น โดย พระยาอนุมานราชธน (เสฐียร โกเศศ) ได้บัญญัติชื่อภาษาไทยว่า “คณะมัณฑนะศิลป์” แต่ ต่อมา ในปี พ.ศ. 2517 ได้มีการดำเนินการปรับแก้ให้ถูกต้อง กับภาษาเขียนเป็น “คณะมัณฑนศิลป์” และศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้จัดสร้างหลักสูตร สาขาวิชาศิลปตกแต่ง 4 ปี (อนุปริญญา 3 ปี ปริญญาตรี 4 ปี) มีท่านศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี รักษาการในตำแหน่งคณบดี และหลวงวิเชียร แพทยาคม (อธิบดีกรมศิลปากรในเวลานั้น) รักษาการใน ตำแหน่งผู้อำนวยการมหาวิทยาลัยศิลปากร (เทียบเท่า อธิการบดีมหาวิทยาลัย)

“ชีวิตนั้นสั้น....
แต่ศิลปะยืนยาว”

ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี

ระหว่าง พ.ศ. 2499 – 2516

คณะมัณฑนศิลป์ จัดการศึกษาเพียงสาขาวิชาเดียว คือ สาขาวิชาศิลปตกแต่ง แต่ใน เวลานั้น เรียกชื่อว่าสาขาวิชามัณฑนศิลป์ ตามชื่อคณะวิชา โดยแบ่งเป็น 2 ระดับ ได้แก่ อนุปริญญา หลักสูตร 3 ปี และ ระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี ผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับวุฒิ อนุปริญญาศิลปบัณฑิต (มัณฑนศิลป์) หรือปริญญาศิลป บัณฑิต (มัณฑนศิลป์) ตามลำดับ

คณะมัณฑนศิลป์ พ.ศ. 2517 – 2544

ต่อมาในปี
พ.ศ. 2517 – 2544

คณะฯ ได้มีการปรับปรุง และ พัฒนาโครงสร้างหลักสูตร เป็นการจัดการศึกษาเฉพาะ ระดับปริญญาตรี ไม่มีระดับอนุปริญญา พร้อมทั้งขยายสาขา วิชาเพิ่มขึ้น 

คณะมัณฑนศิลป์ ปัจจุบัน

ปัจจุบัน

คณะมัณฑนศิลป์ เปิดสอนเพื่อผลิตบัณฑิตระดับ ปริญญาตรี 7 สาขาวิชา คือ สาขาการออกแบบภายใน สาขาการออกแบบนิเทศศิลป์ สาขาการออกแบบผลิตภัณฑ์ สาขาประยุกตศิลปศึกษา สาขาเครื่องเคลือบดินเผา สาขาการออกแบบเครื่องประดับ และสาขาการออกแบบเครื่องแต่งกาย และเพื่อเป็นการส่งเสริมการศึกษา ในระดับที่สูงขึ้น คณะได้ เปิดสอนปริญญาโท 3 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาศิลปะและการออกแบบ สาขาการออกแบบผลิตภัณฑ์ และสาขาการออกแบบเครื่องประดับ

ปรัชญา

ศิลปะและการออกแบบ สร้างสรรค์ชาติยั่งยืน

(จากแผนพัฒนาคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. 2560 – 2563 ของคณะผู้บริหารชุดปัจจุบัน)

ปณิธาน

สร้างสรรค์นวัตกรรมด้านศิลปะ และการออกแบบเพื่อพัฒนาสังคม

(จากแผนพัฒนาคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. 2560 – 2563 ของคณะผู้บริหารชุดปัจจุบัน)

วิสัยทัศน์

คณะมัณฑนศิลป์ เป็นคณะวิชาชั้นนำด้านการออกแบบของประเทศ  ที่มีมาตรฐานการศึกษาในระดับสากล

(จากแผนพัฒนาคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. 2560 – 2563 ของคณะผู้บริหารชุดปัจจุบัน)

อัตลักษณ์บัณฑิตคณะมัณฑนศิลป์

เป็นผู้นำความคิดสร้างสรรค์ และทักษะศิลปะระดับสูง

ค่านิยม

“มัณฑนศิลป์เพื่อสังคม”

พันธกิจ

  • 1. พัฒนาองค์ความรู้ด้านการออกแบบที่มี มาตรฐานระดับสากล
  • 2. ให้การศึกษาที่เน้นผลลัพธ์ที่ก่อประโยชน์ ต่อผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกมิติ
  • 3. ผลิตผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ ที่ตอบสนองความต้องการของสังคม
  • 4. ให้บริการวิชาการที่มีการอนุรักษ์ สืบสาน บูรณาการ มรดกภูมิปัญญา และศิลปวัฒนธรรมไทยในกระบวนการออกแบบ สามารถสร้างความเข้มแข็ง พัฒนาคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน และเสริมสร้างคุณค่าและมูลค่าให้กับชุมชน สังคม และประเทศชาติ
© สงวนลิขสิทธิ์ 2558, คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร