ปรัชญา
- เป็นเลิศด้านความคิดสร้างสรรค์ ผู้นำด้านการเรียนการสอนวิชาการออกแบบเครื่องแต่งกาย
ความสำคัญ
- หลักสูตรการออกแบบเครื่องแต่งกายเป็นหลักสูตรที่มุ่งผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรีให้เป็นผู้ที่มีความรู้ความ สามารถในการสร้างสรรค์งานทางด้านการออกแบบเครื่องแต่งกาย เป็นผู้รอบรู้มีทัศนคติอันดีงาม รู้จักคิด วินิจฉัย มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถพัฒนาตนเอง และมีคุณธรรม นำคุณประโยชน์สู่สังคม
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถ และมีความเชี่ยวชาญในการออกแบบเครื่องแต่งกายและสามารถ ประยุกต์ใช้ศิลปะให้สอดคล้องกับเทคนิควิทยาการทางการออกแบบ
- เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการดำเนินธุรกิจทางการออกแบบเครื่องแต่งกาย
- เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความคิดสร้างสรรค์และเข้าใจในกระบวนการผลิตอุตสาหกรรมการออกแบบ เครื่องแต่งกาย
- เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและมีจรรยาบรรณในวิชาชีพ
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร
- PLO1 อธิบายความหมายและคุณค่าของศิลปะและการสร้างสรรค์ได้
- PLO2 อภิปรายความหมายของความหลากหลายทางวัฒนธรรมได้
- PLO3 ระบุความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจและทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการเป็นผู้ประกอบการได้
- PLO4 มีทักษะการใช้ภาษา และสื่อสารได้ตรงตามวัตถุประสงค์ในบริบทการสื่อสารที่หลากหลาย
- PLO5 เลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ตรงตามวัตถุประสงค์ ตลอดจนรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ
- PLO6 แสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง และนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาตนเองและการดำเนินชีวิต
- PLO7 แสดงออกซึ่งทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ มีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลาซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
- PLO8 ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างผลงานหรือดำเนินโครงการได้
- PLO9 คิดวิเคราะห์ วางแผน อย่างเป็นระบบ เพื่อแก้ไขปัญหาหรือเพื่อออกแบบนวัตกรรมได้
- PLO10 บอกเนื้อหา ทฤษฎี หลักการ มาตรฐานหรือธรรมเนียมปฏิบัติด้านศิลปะและการออกแบบและศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องได้
- PLO11 อธิบายทฤษฎี หลักการ เทคนิควิธีในการสร้างผลงานศิลปะและการออกแบบ
- PLO12 ปฏิบัติงานศิลปะและงานออกแบบตามทฤษฎี หลักการ และหลักปฏิบัติได้
- PLO13 ประยุกต์ใช้ทฤษฎี หลักการ หลักปฏิบัติด้านศิลปะและการออกแบบ และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องในการสร้างสรรค์ผลงานได้
- PLO14 ใช้เครื่องมือ อุปกรณ์หรือเทคโนโลยีในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะและออกแบบได้ด้วยตนเอง
- PLO15 มีความรู้ความเข้าใจและความสามารถในกระบวนการการออกแบบแฟชั่น
- PLO16 มีความสามารถในการใช้ทฤษฎีศิลปะและสุนทรียศาสตร์ในการออกแบบแฟชั่น
- PLO17 มีความรู้และสามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางธุรกิจและอุตสาหกรรมแฟชั่น
- PLO18 สามารถสร้างสรรค์ศิลปะควบคู่ไปกับการออกแบบที่มีความโดดเด่น
- PLO19 มีวินัย มีทักษะในการสื่อสารด้านแฟชั่น และมีจรรยาบรรณวิชาชีพ
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- นักออกแบบเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย
- นักวาดภาพประกอบแฟชั่น
- นักออกแบบสร้างสรรค์งานเครื่องประดับตกแต่งกาย เช่น หมวก กระเป๋า รองเท้า เข็มขัด ฯลฯ
- นักออกแบบลายผ้า
- ศิลปินสร้างสรรค์งานผ้า
- ผู้สอน ทางด้านเครื่องแต่งกาย
- นักวิจัย ทางด้านงานเครื่องแต่งกาย
- ผู้ประกอบการและ/หรือผู้จัดการโรงงานผลิตเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม
- ช่างภาพแฟชั่น
- นักออกแบบอิสระ
- สไตล์ลิสต์