สาขาวิชาศิลปะการออกแบบเชิงวัฒนธรรม

ข้อมูลหลักสูตร

เนื่องจากการศึกษาและการ บริหารจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีและมหาบัณฑิต ด้านศิลปะการออกแบบ ทำให้เห็นถึง ความสำคัญในศาสตร์และศิลป์ที่เข้าไปมีบทบาทในการพัฒนาประเทศ จึงเห็นควรให้จัดการศึกษา ระดับดุษฎีบัณฑิต โดยคำนึงถึงรากเหง้าทางภูมิปัญญาไทย และทักษะการบูรณาการด้านศิลปะการ ออกแบบอย่างลึกซึ้ง

จุดเด่นของหลักสูตร

หลักสูตรมุ่งเน้นให้นักศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาวัฒนธรรมอันดีงามยั่งยืน ด้วยศิลปะการออกแบบ  ทำให้เกิดทรัพย์สินทางปัญญา พัฒนาวัฒนธรรม สังคม คุณภาพชีวิต และเศรษฐกิจยั่งยืน

หลักสูตรฯ ประกอบไปด้วยแกนหลักสำคัญ ด้านวัฒนธรรม เน้นหนักการศึกษาวิจัยด้านบูรณาการ โดยมุ่งเป้าให้เกิดการวัฒนาด้านศิลปะ การศึกษา ปฏิบัติ อย่างลึกซึ้ง กลมกลืน ไม่ก่อความขัดแย้ง เพื่อเกิดปรากฏการณ์ ทางสุนทรียะ เข้าถึงจิตวิญญาณ อันจะ เป็นเครื่องมือในการบูรณาการสร้างสรรค์ แกนสำคัญด้านวัฒนธรรมและ ศิลปะ ให้เกิดผลตามเป้าหมายของการวิจัย ทั้งด้านประเพณีนิยม และนวัตกรรมใหม่ ๆส่งผลต่อวัฒนธรรมด้วยการออกแบบ

กลุ่มเป้าหมายของหลักสูตร

  1. นักศึกษาที่จบปริญญาโทในหลักสูตรศิลปะการออกแบบและหลักสูตรด้านสังคมศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษาอื่น ๆ
  2. เจ้าหน้าที่ระดับสูงในหน่วยงานรัฐบาล องค์กรมหาชน และองค์กร NGO ที่ เกี่ยวกับศิลปะวัฒนธรรม
  3. หน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิจัยทางศิลปะวัฒนธรรม การออกแบบสถาปัตยกรรม การจัดการอสังหาริมทรัพย์

 

 

 

แบบ 1.1    หลักสูตร 3 ปี

 1) วิชาบังคับ (ไม่นับหน่วยกิต)           9  หน่วยกิต
         371 601 บูรณาการการวิจัยศิลปะการออกแบบเชิงวัฒนธรรม                      3*(2-2-5)
                         (Integrated Research in Culture Based – Design Arts)
         371 602 ทฤษฎีทางวัฒนธรรมและนวัตกรรมในงานศิลปะการออกแบบ        3*(2-2-5)
                        (Cultural Theory and Innovation in Design Arts)
         371 603 สัมมนาศิลปวัฒนธรรมและการออกแบบ                                      3*(2-2-5)
                         (Seminar in Cultural Design Arts)
 2) วิทยานิพนธ์                                  48  หน่วยกิต

แบบ 1.2    หลักสูตร 4 ปี

  1) วิชาบังคับ (ไม่นับหน่วยกิต)          15  หน่วยกิต
          371 501 โครงการศึกษาวิจัยเชิงวัฒนธรรมเฉพาะบุคคล                           3*(2-2-5)
                         (Culture – Based Individual Project)
          371 502 การสร้างสรรค์ศิลปะการออกแบบเชิงวัฒนธรรม                         3*(2-2-5)
                         (Culture – Based Design Art Creativity)
          371 601 บูรณาการการวิจัยศิลปะการออกแบบเชิงวัฒนธรรม                    3*(2-2-5)
                         (Integrated Research in Culture Based – Design Arts)
          371 602 ทฤษฎีทางวัฒนธรรมและนวัตกรรมในงานศิลปะการออกแบบ      3*(2-2-5)
                          (Cultural Theory and Innovation in Design Arts)
          371 603 สัมมนาศิลปวัฒนธรรมและการออกแบบ                                     3*(2-2-5)
                          (Seminar in Cultural Design Arts

    2) วิทยานิพนธ์                                  72  หน่วยกิต

คุณสมบัติผู้สมัคร

  1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญามหาบัณฑิต ทุกสาขาวิชา และมีผลงานที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ  การออกแบบ วัฒนธรรม มานุษยวิทยา โบราณคดี สังคมศาสตร์
  2. ผ่านเกณฑ์ทดสอบภาษาอังกฤษตามข้อบังคับระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยศิลปากร โดยสามารถศึกษารายละเอียดคะแนนสอบภาษาอังกฤษจาก http://www.eng.su.ac.th/upload/education-pdf

หมายเหตุ กรณีที่มีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามเกณฑ์ในข้อ 1 และ/หรือ 2 ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการหลักสูตรฯ

เอกสารหลักฐานประกอบการสมัครและสอบสัมภาษณ์

  1. ร่างโครงการวิทยานิพนธ์(Proposal) ที่ประสงค์จะค้นคว้าวิจัยโดยมีเป้าหมายเพื่อศึกษาวิจัยด้านที่เกี่ยวข้องกับศิลปวัฒนธรรมไม่จำกัดสาขา และคาดหวังการนำผลการศึกษาเพื่อประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์เชิงวัฒนธรรมด้วยองค์ความรู้ด้านศิลปะการออกแบบ
  2. แฟ้มผลงานส่วนบุคคล(Portfolio) ที่สามารถสรุป ประวัติความเป็นมาด้านการศึกษา การประกอบอาชีพ ผลงานด้านวิชาการ หรือผลงานสร้างสรรค์อื่นๆ
  3. หลักฐานการผ่านเกณฑ์ทดสอบภาษาอังกฤษ

อัตราค่าลงทะเบียนเหมาจ่ายภาคการศึกษาละ 75,000 บาท (ตลอดหลักสูตร 450,000 บาท)
ทั้งนี้ อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเล็กน้อย เช่น ค่าธรรมเนียมขึ้นทะเบียนนักศึกษา ค่าบัตรนักศึกษา เป็นต้น

 

Download (PDF, 8.04MB)

เรียนนอกเวลาราชการ วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 17.00 – 21.00 น. เสาร์-อาทิตย์ เวลา 9.00 – 16.30 น.
(วัน-เวลา สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม)

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้สมัคร ติดต่อได้ที่ นางสาวอิญทิรา เพชรรัตน์ โทร. 0 2221 5874

© สงวนลิขสิทธิ์ 2558, คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร