สาขาวิชาการออกแบบภายใน

ปรัชญา

สร้างสรรค์งานออกแบบภายใน ส่งเสริมสุนทรียภาพ สืบสานศิลปวัฒนธรรม

ความสำคัญ

เป็นหลักสูตรที่สร้างมัณฑนากรผู้มีรสนิยมและความคิดสร้างสรรค์ สามารถใช้ศาสตร์และศิลป์ในการทำงาน ออกแบบภายใน
เพื่อส่งเสริมการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม ส่งเสริมสุนทรียภาพ คุณภาพชีวิต และศิลปวัฒนธรรมไทย

วัตถุประสงค์

  • ผลิตบัณฑิตผู้มีความรู้ความสามารถในการออกแบบสร้างสรรค์งานออกแบบภายใน สามารถประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม สาขาสถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์
  • ผลิตบัณฑิตที่สามารถสร้างสรรค์งานออกแบบภายในที่มีสุนทรียภาพด้านความงาม มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพด้านประโยชน์ใช้สอย
  • ผลิตบัณฑิตที่มีความใฝ่รู้ คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม

ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร

  • PLO1 อธิบายความหมายและคุณค่าของศิลปะและการสร้างสรรค์ได้
  • PLO2 อภิปรายความหมายของความหลากหลายทางวัฒนธรรมได้
  • PLO3 ระบุความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจและทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการเป็นผู้ประกอบการได้
  • PLO4 มีทักษะการใช้ภาษา และสื่อสารได้ตรงตามวัตถุประสงค์ในบริบทการสื่อสารที่หลากหลาย
  • PLO5 เลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ตรงตามวัตถุประสงค์ ตลอดจนรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ
  • PLO6 แสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง และนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาตนเองและการดำเนินชีวิต
  • PLO7 แสดงออกซึ่งทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ มีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลาซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
  • PLO8 ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างผลงานหรือดำเนินโครงการได้
  • PLO9 คิดวิเคราะห์ วางแผน อย่างเป็นระบบ เพื่อแก้ไขปัญหาหรือเพื่อออกแบบนวัตกรรมได้
  • PLO10 บอกเนื้อหา ทฤษฎี หลักการ มาตรฐานหรือธรรมเนียมปฏิบัติด้านศิลปะและการออกแบบและศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องได้
  • PLO11 อธิบายทฤษฎี หลักการ เทคนิควิธีในการสร้างผลงานศิลปะและการออกแบบ
  • PLO12 ปฏิบัติงานศิลปะและงานออกแบบตามทฤษฎี หลักการ และหลักปฏิบัติได้
  • PLO13 ประยุกต์ใช้ทฤษฎี หลักการ หลักปฏิบัติด้านศิลปะและการออกแบบ และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องในการสร้างสรรค์ผลงานได้
  • PLO14 ใช้เครื่องมือ อุปกรณ์หรือเทคโนโลยีในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะและออกแบบได้ด้วยตนเอง
  • PLO15 ระบุสัดส่วน ระยะมาตรฐานเพื่อการออกแบบตกแต่งภายในที่เหมาะสมกับพฤติกรรมของผู้ใช้งาน
  • PLO16 ค้นหาข้อมูล คิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา แสดงความเห็นและสรุปประเด็นสำคัญนำไปสู่งานออกแบบตกแต่งภายใน
  • PLO17 ถ่ายทอดและนำเสนอผลงานออกแบบให้สัมพันธ์กับแนวความคิด
  • PLO18 ปฏิบัติการออกแบบภายในโดยคำนึงถึงจรรยาบรรณวิชาชีพ สังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม
  • PLO19 การใช้ทฤษฎี หลักการ หลักปฏิบัติ เพื่อบูรณาการกับศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องในงานออกแบบตกแต่งภายใน

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  • มัณฑนากร นักออกแบบภายใน สถาปนิกสาขาสถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์ ตามพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. 2543
  • ผู้บริหารงานโครงการออกแบบภายใน ที่ปรึกษาโครงการออกแบบภายใน
  • ผู้สอน นักวิชาการด้านการออกแบบภายใน
  • ผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องต่างๆ เช่น ธุรกิจก่อสร้าง ธุรกิจการค้าวัสดุและอุปกรณ์ ธุรกิจการค้าเครื่องเรือน และของตกแต่งรวมทั้งงานที่เกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์

รหัสและชื่อหลักสูตร
รหัสหลักสูตร              2550 00811 05674
ชื่อหลักสูตร
–  ภาษาไทย              หลักสูตรศิลปบัณฑิต  สาขาวิชาการออกแบบภายใน
–  ภาษาอังกฤษ          Bachelor of Fine Arts Program in Interior Design

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
–  ชื่อเต็มภาษาไทย            ศิลปบัณฑิต  (การออกแบบภายใน)
–  ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ        Bachelor of Fine Arts (Interior Design)
–  ชื่อย่อภาษาไทย             ศล.บ. (การออกแบบภายใน)
–  ชื่อย่อภาษาอังกฤษ         B.F.A. (Interior Design)

รายละเอียดของหลักสูตรหลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบภายใน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)

Download (PDF, 359KB)

รายละเอียดของหลักสูตรหลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบภายใน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560)

Download (PDF, 277KB)

 

เกณฑ์การคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษา

  • ทักษะความเข้าใจเรื่อง 3 มิติ
  • ทักษะการคิดสร้างสรรค์
  • ทักษะการคิดวิเคราะห์
  • ทักษะการสื่อสาร
  • ทัศนคติคิดเชิงบวก
© สงวนลิขสิทธิ์ 2558, คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร