สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์

ปรัชญา

  • ผลิตบัณฑิตผู้มีความเชี่ยวชาญการออกแบบผลิตภัณฑ์ มีทัศนคติ คุณธรรม จริยธรรมอันงดงาม สามารถ ค้นคว้า สร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาตน พัฒนาชาติ

ความสำคัญ

  • ศาสตร์การออกแบบผลิตภัณฑ์เป็นองค์ประกอบสำคัญส่วนหนึ่งของการขยายตัว ทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ศาสตร์การออกแบบผลิตภัณฑ์ในปัจจุบัน ถูกใช้เป็นตัวจักรสำคัญต่อกระบวนการพัฒนา และผลิตสินค้า เพื่อให้ น่าใช้ และใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลในการยกระดับคุณภาพชีวิต ผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์เพื่อการอุปโภคในประเทศ และเพื่อการส่งออก หลักสูตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ พ.ศ. 2555 มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้และทักษะในการออกแบบผลิตภัณฑ์ หลากหลายประเภท มีความรอบรู้ในกระบวนการ วิธีการ ศาสตร์การออกแบบเทคโนโลยีและการดำเนินธุรกิจ สามารถค้นคว้าเพื่อสร้างสรรค์ และพัฒนางานออกแบบร่วมสมัย ปลูกฝังให้บัณฑิตมีจรรยาบรรณ คุณธรรมและจริยธรรม เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ

วัตถุประสงค์

  • เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้และทักษะในการออกแบบผลิตภัณฑ์
  • เพื่อผลิตบัณฑิตที่สามารถประยุกต์นำศาสตร์แขนงต่างๆ อาทิ ศิลปะ เทคโนโลยี เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม วัสดุ กรรมวิธีการผลิต ธุรกิจและการตลาด มาใช้ในงานออกแบบผลิตภัณฑ์
  • เพื่อผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้สร้างสรรค์ เชี่ยวชาญการค้นคว้า และนักวิชาการทางการออกแบบผลิตภัณฑ์
  • เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรับผิดชอบ จรรยาบรรณ และสำนึกต่อสังคม

ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร

  • PLO1: สร้างแนวทางการออกแบบสร้างสรรค์เฉพาะตน โดยประยุกต์ใช้ความรู้ ประสบการณ์ รสนิยม
  • PLO2: บูรณาการแนวคิดและทฤษฎีจากศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อตอบสนองต่อโลกปัจจุบันในมิติทางสังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม
  • PLO3: สามารถค้นคว้าวิจัย เพื่อเข้าใจพฤติกรรมและทัศนคติของผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์อย่างถ่องแท้จนนำไปสู่การพัฒนางานออกแบบอย่างเป็นระบบ
  • PLO4: ประยุกต์ความรู้เชิงธุรกิจกับการออกแบบผลิตภัณฑ์
  • PLO5: แสดงออกถึงความรับผิดชอบ จรรยาบรรณและสำนึกต่อสังคมผ่านผลงานออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงธุรกิจ
  • PLO6: สื่อสารเพื่อถ่ายทอดความคิดและผลงานออกแบบได้อย่างมีระบบ
  • PLO8: ประยุกต์หลักการ ทฤษฎี และผลงานวิจัยต่าง ๆ มาในการสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างมีระบบแผนในเชิงวิชาการ
  • PLO9: วิพากษ์ผลงานออกแบบผลิตภัณฑ์ ตลอดจนปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
  • PLO10: สร้างแนวทางการออกแบบเฉพาะตน ผ่านกระบวนการวิจัยเชิงทดลองที่เป็นระบบแบบแผน
  • PLO11: บูรณาการแนวคิด และทฤษฎีจากศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการออกแบบอย่างเป็นระบบแบบแผนนำไปสู่การพัฒนาความรู้ใหม่ ๆ ในด้านนวัตกรรม
  • PLO12: สามารถออกแบบผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ที่สะท้อนความงามและรสนิยมส่วนบุคคล

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  • นักออกแบบผลิตภัณฑ์ในหน่วยงานที่ให้บริการด้านการออกแบบในส่วนราชการและเอกชน
  • ประกอบธุรกิจส่วนตัวด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และการออกแบบลักษณะอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
  • ผู้บริหารด้านงานออกแบบผลิตภัณฑ์ในส่วนราชการและเอกชน
  • นักวิชาการทางการออกแบบผลิตภัณฑ์

รหัสและชื่อหลักสูตร

  • รหัสหลักสูตร: 2550 00811 06631
  • ชื่อหลักสูตร
  • ภาษาไทย: หลักสูตรศิลปบัณฑิต  สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์
  • ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Fine Arts Program in Product Design

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

  • ชื่อเต็มภาษาไทย: ศิลปบัณฑิต (การออกแบบผลิตภัณฑ์)
  • ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ: Bachelor of Fine Arts (Product Design)
  • ชื่อย่อภาษาไทย: ศล.บ. (การออกแบบผลิตภัณฑ์)
  • ชื่อย่อภาษาอังกฤษ: B.F.A. (Product Design)

รายละเอียดของหลักสูตรหลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)

Download (PDF, 378KB)

เกณฑ์การคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษา

  • ทักษะในการวาดภาพหุ่นนิ่ง ภาพทัศนียภาพ ภาพวัตถุ (Drawing)
  • ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)
  • ทักษะในการแก้ปัญหา (Problem Solving)
  • ทักษะในการวาดลงสีเพื่อนำเสนอผลงานออกแบบ (Presentation)
  • ทักษะในการเขียนแบบผลิตภัณฑ์ (Working Drawing)

การรับสมัคร

  • รับสมัคร TCAS รอบที่ 1 ประมาณเดือนพฤศจิกายน ติดตามรายละเอียดการรับสมัครทาง https://admission.su.ac.th/

ค่าใช้จ่าย

  • 176,000 บาท ตลอดหลักสูตร (ภาคการศึกษาละ 22,000 บาท 8 ภาคการศึกษา)
© สงวนลิขสิทธิ์ 2558, คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร