สาขาวิชาประยุกตศิลปศึกษา

ปรัชญา

สร้างสรรค์ศิลปะที่มีประโยชน์สูงสุดต่อการดำรงชีวิต สังคม สิ่งแวดล้อม บูรณาการความรู้ในวิชาการต่าง ๆ เน้นคุณค่าทางสุนทรีย์และคุณธรรม

ความสำคัญ

ประยุกตศิลป์ เป็นการสร้างสรรค์ที่ให้สุนทรียะประโยชน์ ยกระดับคุณภาพชีวิต เป็นองค์ความรู้ ที่สามารถ สร้างมูลค่าเพิ่มทางด้านวัฒนธรรมและเศรษฐกิจของชาติ หลักสูตรประยุกตศิลปศึกษา เน้นการศึกษาและสร้างสรรค์ ศิลปะที่สัมพันธ์ต่อสังคม สิ่งแวดล้อม ทรัพยากร และยุคสมัย ให้ความสำคัญต่อองค์ความรู้จากศิลปะพื้นบ้าน ศิลปะไทยและภูมิปัญญาไทย ที่นำมาพัฒนาให้เกิดแนวความคิดใหม่ สร้างนวัตกรรมแห่งศิลปะร่วมสมัย สามารถ ผลิตผลงานทั้งเชิงหัตถกรรมและอุตสาหกรรม ทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มในงานศิลปะและออกแบบ ตลอดจนผลิตภันฑ์ สินค้าที่เน้นความคิดสร้างสรรค์ เพิ่มศักยภาพการแข่งขันเชิงธุรกิจกับประเทศอื่นได้ นำเงินตรากลับเข้าสู่ประเทศ เสริมสร้างพื้นฐานเศรษฐกิจ ของชาติให้เจริญมั่นคง

วัตถุประสงค์

  • สร้างบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการสร้างสรรค์ศิลปะที่มีคุณค่าต่อมนุษย์ ทั้งทางกายและจิตใจ
  • สร้างบัณฑิตที่มีคุณธรรมและจริยธรรม
  • สร้างบัณฑิตที่เป็นผู้นำในการขับเคลื่อนทางวัฒนธรรม สังคม เศรษฐกิจ

ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร

  • PLO1 อธิบายความหมายและคุณค่าของศิลปะและการสร้างสรรค์ได้
  • PLO2 อภิปรายความหมายของความหลากหลายทางวัฒนธรรมได้
  • PLO3 ระบุความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจและทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการเป็นผู้ประกอบการได้
  • PLO4 มีทักษะการใช้ภาษา และสื่อสารได้ตรงตามวัตถุประสงค์ในบริบทการสื่อสารที่หลากหลาย
  • PLO5 เลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ตรงตามวัตถุประสงค์ ตลอดจนรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ
  • PLO6 แสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง และนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาตนเองและการดำเนินชีวิต
  • PLO7 แสดงออกซึ่งทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ มีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลาซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
  • PLO8 ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างผลงานหรือดำเนินโครงการได้
  • PLO9 คิดวิเคราะห์ วางแผน อย่างเป็นระบบ เพื่อแก้ไขปัญหาหรือเพื่อออกแบบนวัตกรรมได้
  • PLO10 บอกเนื้อหา ทฤษฎี หลักการ มาตรฐานหรือธรรมเนียมปฏิบัติด้านศิลปะและการออกแบบและศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องได้
  • PLO11 อธิบายทฤษฎี หลักการ เทคนิควิธีในการสร้างผลงานศิลปะและการออกแบบ
  • PLO12 ปฏิบัติงานศิลปะและงานออกแบบตามทฤษฎี หลักการ และหลักปฏิบัติได้
  • PLO 13 ประยุกต์ใช้ทฤษฎี หลักการ หลักปฏิบัติด้านศิลปะและการออกแบบ และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องในการสร้างสรรค์ผลงานได้
  • PLO 14 ใช้เครื่องมือ อุปกรณ์หรือเทคโนโลยีในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะและออกแบบได้ด้วยตนเอง
  • PLO 15 แสดงออกถึงการมีจิตอาสา จิตสำนึกสาธารณะ
  • PLO 16 เชิดชูความหลากหลายทางวัฒนธรรม มุมมองและทัศนคติทางสังคมผ่านการสร้างสรรค์ผลงาน
  • PLO 17 แสดงให้เห็นความสามารถในการปฏิบัติงานที่ดีโดยคำนึงถึงหลักจริยธรรมในวิชาการและวิชาชีพ ธรรมเนียมปฏิบัติ ความเข้าใจในทรัพย์สินทางปัญญา
  • PLO 18 กลั่นกรองข้อมูล ประมวลความรู้ความเข้าใจ จัดระเบียบความคิดจากการปฏิบัติเชิงสร้างสรรค์และนำเสนอได้
  • PLO 19 วางแผนการทำงานและใช้อุปกรณ์เครื่องมือเพื่อให้ได้ผลลัพธ์จากการสร้างสรรค์ตามเป้าหมายและสามารถประเมินคุณค่าของผลงานได้
  • PLO 20 พัฒนาทักษะและองค์ความรู้เพื่อเป็นฐาน ต่อยอด ขยายการเรียนรู้ ในกรอบของบริบทที่แตกต่างกัน ภายในสาขาวิจิตรศิลป์ วิชาชีพและการเป็นผู้ประกอบการ
  • PLO 21 สร้างสรรค์ผลงานศิลปะและการออกแบบประยุกต์ศิลป์

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  • จิตรกร
  • ประติมากร
  • ศิลปินภาพพิมพ์
  • ศิลปินศิลปะไทยประยุกต์
  • ศิลปินสิ่งทอ
  • ศิลปินทัศนศิลป์
  • นักออกแบบ
  • ช่างศิลป์
  • นักวาดภาพประกอบ
  • ผู้สอนศิลปะ
  • นักวิชาการศิลปะ
  • นักวิจารณ์ศิลปะ
  • ภัณฑารักษ์
  • ที่ปรึกษาทางศิลปะและการออกแบบประยุกตศิลป์
  • ผู้ออกแบบและจัดการนิทรรศการศิลปะ
  • อาชีพอิสระ

 

รหัสและชื่อหลักสูตร
รหัสหลักสูตร              2550 00811 05663
ชื่อหลักสูตร
–  ภาษาไทย              หลักสูตรศิลปบัณฑิต  สาขาวิชาประยุกตศิลปศึกษา
–  ภาษาอังกฤษ          Bachelor of Fine Arts Program in Applied Art Studies

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
–  ชื่อเต็มภาษาไทย            ศิลปบัณฑิต  (ประยุกตศิลปศึกษา)
–  ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ        Bachelor of Fine Arts (Applied Art Studies)
–  ชื่อย่อภาษาไทย             ศล.บ. (ประยุกตศิลปศึกษา)
–  ชื่อย่อภาษาอังกฤษ         B.F.A. (Applied Art Studies)

 

รายละเอียดของหลักสูตรหลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชา ประยุกตศิลปศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)

Download (PDF, 438KB)

รายละเอียดของหลักสูตรหลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชา ประยุกตศิลปศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560)

Download (PDF, 304KB)

เกณฑ์การคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษา

  • ความสนใจใฝ่รู้ทางด้านศิลปะ
  • ทักษะพื้นฐานด้านศิลปะที่จะเป็นฐานพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
  • ความรับผิดชอบ พยายามเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองและแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง
  • ตระหนักถึงคุณธรรม จริยธรรมขั้นพื้นฐาน จิตสํานึกสาธารณะในสาขาวิชาชีพทางศิลปะ และการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม
© สงวนลิขสิทธิ์ 2558, คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร