สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์

ปรัชญา
เป็นเลิศด้านความคิดสร้างสรรค์ มุ่งมั่นพัฒนาการศึกษาด้านการออกแบบนิเทศศิลป์

ความสำคัญ
หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ เป็นหลักสูตรซึ่งผลิตบัณฑิตที่เป็นเลิศด้านการคิด วิเคราะห์และการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ สามารถบูรณาการศาสตร์ต่างๆ เข้ากับหลักการออกแบบนิเทศศิลป์ เพื่อสร้างผลงานออกแบบที่มีประสิทธิภาพ เต็มเปี่ยมด้วยความคิดสร้างสรรค์ ตอบสนองความต้องการของตลาด ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ เป็นแรงผลักดันเศรษฐกิจของชาติให้เติบโต ควบคู่กับการปลูกฝังจรรยาบรรณ จิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

วัตถุประสงค์

  • เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถและมีความเชี่ยวชาญด้านการออกแบบนิเทศศิลป์
  • เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความคิดสร้างสรรค์ ทักษะ จรรยาบรรณในวิชาชีพ
  • เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการบูรณาการความรู้ในศาสตร์ต่างๆ
  • เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความเข้าใจในการประกอบวิชาชีพ
  • เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและศิลปวัฒนธรรม

ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร

  • PLO1 อธิบายความหมายและคุณค่าของศิลปะและการสร้างสรรค์ได้
  • PLO2 อภิปรายความหมายของความหลากหลายทางวัฒนธรรมได้
  • PLO3 ระบุความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจและทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการเป็นผู้ประกอบการได้
  • PLO4 มีทักษะการใช้ภาษา และสื่อสารได้ตรงตามวัตถุประสงค์ในบริบทการสื่อสารที่หลากหลาย
  • PLO5 เลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ตรงตามวัตถุประสงค์ ตลอดจนรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ
  • PLO6 แสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง และนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาตนเองและการดำเนินชีวิต
  • PLO7 แสดงออกซึ่งทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ มีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลาซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
  • PLO8 ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างผลงานหรือดำเนินโครงการได้
  • PLO9 คิดวิเคราะห์ วางแผน อย่างเป็นระบบ เพื่อแก้ไขปัญหาหรือเพื่อออกแบบนวัตกรรมได้
  • PLO10 บอกเนื้อหา ทฤษฎี หลักการ มาตรฐานหรือธรรมเนียมปฏิบัติด้านศิลปะและการออกแบบและศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องได้
  • PLO11 อธิบายทฤษฎี หลักการ เทคนิควิธีในการสร้างผลงานศิลปะและการออกแบบ
  • PLO12 ปฏิบัติงานศิลปะและงานออกแบบตามทฤษฎี หลักการ และหลักปฏิบัติได้
  • PLO13 ประยุกต์ใช้ทฤษฎี หลักการ หลักปฏิบัติด้านศิลปะและการออกแบบ และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องในการสร้างสรรค์ผลงานได้
  • PLO14 ใช้เครื่องมือ อุปกรณ์หรือเทคโนโลยีในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะและออกแบบได้ด้วยตนเอง
  • PLO15 อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างงานศิลปะและการออกแบบกับบริบททางสังคม ภูมิปัญญา และวัฒนธรรม
  • PLO16 สามารถค้นคว้า แก้ปัญหาและพัฒนาด้านศิลปะและการออกแบบอย่างเป็นระบบได้ด้วยตนเอง
  • PLO17 มีทักษะการนำเสนอผลงานออกแบบนิเทศศิลป์
  • PLO18 ประยุกต์ใช้ศิลปะและวัฒนธรรมไทยในการสร้างสรรค์งานออกแบบนิเทศศิลป์ได้
  • PLO19 วัดประสิทธิภาพผลงานออกแบบนิเทศศิลป์ได้ด้วยตนเอง
  • PLO20 ร่วมกิจกรรมจิตอาสา

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  • นักออกแบบกราฟิก
  • ผู้กำกับศิลป์ในงานโฆษณา ภาพยนตร์และแอนิเมชั่น
  • ผู้กำกับภาพยนตร์และอนิเมชั่น
  • นักสร้างเทคนิคพิเศษทางวิดีโอและภาพยนตร์
  • นักวาดภาพประกอบ และนักเขียนการ์ตูน
  • นักถ่ายภาพ นักตกแต่งภาพ
  • นักออกแบบงานดิสเพลย์และงานจัดแสดงต่าง ๆ
  • ผู้สอน นักวิชาการด้านการออกแบบนิเทศศิลป์
  • นักเขียนข้อความโฆษณาและนักเขียนบท

 

รหัสหลักสูตร 2550 00811 05641

ชื่อหลักสูตร

  • ภาษาไทย: หลักสูตรศิลปบัณฑิต  สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์
  • ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Fine Arts Program in Visual Communication Design

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

  • ชื่อเต็มภาษาไทย ศิลปบัณฑิต  (การออกแบบนิเทศศิลป์)
  • ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ Bachelor of Fine Arts (Visual Communication Design)
  • ชื่อย่อภาษาไทย ศล.บ. (การออกแบบนิเทศศิลป์)
  • ชื่อย่อภาษาอังกฤษ B.F.A. (Visual Communication Design)

หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)

Download (PDF, 397KB)

หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2560)

Download (PDF, 281KB)

 

เกณฑ์การคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษา

  • ความคิดสร้างสรรค์
  • ทักษะทางศิลปะและการออกแบบ
  • ทักษะการแก้ปัญหา
  • ลักษณะเฉพาะตนที่มีความโดดเด่น
  • ความสามารถพิเศษอื่น ๆ

* ผู้สมัครต้องมีคะแนนผ่านเกณฑ์ไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 60 จึงจะมีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์และทดสอบเพื่อยืนยันแฟ้มสะสมผลงาน

© สงวนลิขสิทธิ์ 2558, คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร